ชื่ออุปกรณ์ |
รูปภาพ |
คำอธิบาย
/ วิธีการใช้ |
10.หนังสือ
และแผนผัง |
|
หน้าที่ ให้ทราบถึงวิธีการทำงาน
ครวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในมือถือ ที่ใช้งานได้เป็นอย่างไร และที่เสียดูอย่างไร
โดยมีทั้งหนังสือพื้นฐาน เบื้องต้นสำหรับ ผู้เริ่มซ่อม จนถึงขั้นสูงสุด
แนะนำให้มีหนังสือ สอนพื้นฐานไว้อย่างน้อย ก็1เล่ม ที่เราอ่านแล้วเข้าใจ
อีกส่วนหนึ่งคือแผนผัง
วงจรโทรศัพท์มือถือ ซึ่งตอนนี้มีรวมทั้งจอสีและจอขาวดำกว่า 200
รุ่น ในส่วนของแผนผังวงจร ต้องบอกว่า ใครมีเยอะ มากรุ่นกว่าก็จะได้เปรียบคนไม่มี
นำห่างหลากขุม แต่มีแล้วก็ต้องอ่านเป็นใช้ได้ถูกนะครับ
ไม่เอาเป็นที่หนุนหัวนะ
|
วิธีใช้
เจออะไรที่ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็นหยิบคำภีร์ มาสืบเสาะหาจุดที่ใส่ใจ
แล้วจัดการเผด็จศึก ... แม่ทัพมีตำราพิชัยสงคราม /ช่างซ่อมมือถือซ่อมแบบไปลุ้นอนาคต
ตายดาบหน้าไม่มีแล้วครับสมัยนี้ เป็นไงไม่รู้ แนะนำอ่านเล่มดำเล่มนี้ก่อน |
11.อุปกรณ์ถอด
แกะเครื่อง |
|
หน้าที่ รู้ว่าเสียตรงไหนแต่แกะไม่ออก
ก็หมดท่าจะเป็นช่างซ่อม แต่ไม่มีอุปกรณ์ ถอด-แกะเครื่อง ถึงซ่อมเครื่องลูกค้าได้แต่ถอดแกะผิดวิธี
เครื่องเป็นรอย ทั้งๆที่ไม่น่าเป็น ตัวแกะเครื่องนั้นบางรุ่นไม่มี
สกรูยึดบางเครื่องมี ตัวแกะเครื่องมีขายอยู่มากหลายแบบ บางแบบเป็นเหล็ก
บางรุ่นเป็นพลาสติก หาที่ไม่ทำตำหนิให้ลูกค้า เป็นใช้ได้ |
วิธีใช้ หากเป็นไขควงก็ไขจุดสกรูยึด ใต้เทปกาวสติกเกอร์ หากเป็นพวก สไลส์ขึ้น-ลง
เช่นNokia 7650 ต้องใช้ตัวปลดสลักสีดำๆในรูป หรือแบบที่เป็นพลาสติกรูด
ซ้าย-ขวา ก็จะหลุดจากตัวล็อค ได้โดยยง่าย... พวกเลื่อนๆ สไลส์ขึ้น-ลงๆ
นี่แหละผมชอบนัก เจ้าของชอบสไลส์แรง ไม่มีบันยะบันยัง ตกกระแทก
หลุดออกไม่เป็นท่า มาให้ประกอบคืนอยู่เรื่อย ให้เงินใช้ประจำ ฮะๆ |
12.ตัวจับบอร์ด |
|
หน้าที่
ตัวยึดบอร์ด ใช้จับยึดชิ้นงานให้แน่นกับที่ หากต้องการความนิ่ง
ก็ใช่เลย ตัวจับบอร์ดมีหลากชนิด บางตัวเราใช้จับให้มันตั้ง-ตะแคง-หงาย-คว่ำ
ได้ตามความพอใจ เพื่อที่จะสามารถวัดลายวงจร ในส่วนงาน ที่อยู่คนล่ะหน้าคนละฝั่ง
|
วิธีใช้ หมุนปรับความแน่น
หากเป็นแบบแม่เหล็กยึด ก็ไม่ต้องหมุน เป็นช่างต้องใช้ทุกคนครับ
ไม่งั้นไม่อยู่แน่ๆ บอร์ดเลื่อนตามแรงเขี่ย
|
13.เครื่องจ่ายไฟตรง
DC-SUPPLY |
|
หน้าที่ ตัวนี้ต้องจัดเก็บเข้าโต๊ะช่างเรา100% สังเกตมีทุกร้าน ไม่มีเรียกว่าเชยได้
เป็นอุปกรณืใช้ตรวจสอบการทำงานของเครื่อง เครื่องมีปัญหาตั้งแต่เปิดไม่ติด
-ติดๆดับๆ ไม่มีสัญญาณ โทรออกแล้วดับ เครื่องช็อต เครื่องปวดหัวตัวร้อนสารพัด
ตรวจสอบได้โดยใช้ เครื่องจ่ายไฟตรงตัวนี้แหละครับ ช่วยได้เหมือนยาพารา
มีแบบตัวเลข
แบบเข็ม ส่วนตัวผมชอบแบบเข็มมากกว่าครับ |
วิธีใช้ เปิดเครื่อง ปรับไฟให้ตรงกับความต้องการของโทรศัพท์แต่ล่ะเครื่อง
เสร็จแล้วก็จับเข้ากับโทรศัพท์ แต่ต้องจับให้ถูกนะครับ จับผิดเป็นเรื่องได้
จับใหถูกอย่างไรสำหรับโทรศัพท์บางรุ่นมีเทคนิคในการจับอีก จับผิดเครื่องไม่เปิด
สายที่ให้มามีหลายเส้นมี สีแดง เขียว เหลือง ดำ ไว้มีโอกาสจะเล่าให้ฟังนะครับว่าจับไง |
13.เครื่องเป่าลมร้อน |
|
หน้าที่เครื่องนี้ก็สำคัญเหมือนกันครับ
แต่ไม่ใช้ในงานตรวจเหมือนเครื่องจ่ายไฟ DC-Supply เป็นส่วนของงานซ่อมครับ
แต่ก็ต้องตรวจก่อนค่อยซ่อม แต่ถ้าไม่มีเครื่องนี้ก็ ตรวจรู้ว่าอะไรเสียแต่ซ่อมอาจได้ไม่เต็มที่
(เต็มที่ต้องมี ไม่เต็มตัวก็ไม่ต้องมี) ทำหน้าที่เป่าลมร้อนออกมาเพื่อทำให้ตะกั่วละลาย
พอละลายแล้วเราก็หยิบตัวอุปกรณ์ที่เสียออกได้ อุปกรณ์ที่เอาออกมาเป็นพวกที่
หัวแร้งธรรมดา ไม่สามารถเข้าได้ครับ เช่น PA เครื่องเป่าลมร้อนนี้แต่ก่อนแพงมาก
แต่ปัจจุบันหาซื้อได้โดยไม่ลำบาก สบายกระเป๋า เลือกเป็นล่ะกัน |
วิธีใช้ เสียบปลั๊ก
หมุนความร้อนให้เหมาะสม ตามต้วยหมุนความแรงของลมที่ออกมาให้ได้กับความต้องการของเรา
ได้ดังนี้แล้วก็เป่าซะ ได้ที่ก็หยิบเข้า-ออกได้แล้ว ง่ายๆ อ๋อมันมีหัวเปลี่ยนได้ด้วยนะครับ
เปลี่ยนให้เหมาะกับงานเราล่ะกัน |
14.ตะแกรงบอลขา
BGA -NET |
|
หน้าที่ สำหรับจัดการขาอุปกรณ์ ให้พร้อมต่อการประกอบ วางให้ได้แนบแน่น
เพราะว่าตอนถอดออก ขาบางขาได้หลุดหาย ตะกั่วน้อยไป ขาไม่ถึงขาไม่เต็ม
ก็ต้องให้เต็มแต่จะเอาหัวแร้งมาทำขาแต้มตะกั่วทีละขาก็คงไม่ไหวแน่ๆ
ตามประสาของคนขี้เกียจก็ทำให้หมดทีเดียวเลย 40-50ขาไปเลยรอบเดียว
บางท่านบอกว่ายากแต่หากได้รู้เคล็ดการทำแล้ว ไม่ยากใช้เวลาฝึกหัดแป๊ปเดียว
3-4นาทีก็เสร็จ |
วิธีใช้
ทำให้เป็นเม็ดๆ กลมๆ เท่ากันทุกเม็ด เอาว่าดูรูปประกอบ หัวข้อต่อไปดีกว่า
ชัดเจนดี จะใช้ร่วมกับเครื่องเป่าลมร้อนและตะกั่วเหลว |
15.ตะกั่วเหลว |
|
หน้าที่ เหมือนตะกั่วเส้น
แต่เป็นในรูปแบบเหลวๆ ใช้สร้างขาIC ในพวกโทรศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบัน
ไม่ว่าจอสีหรือขาวดำ เมื่อโดนความร้อนจากเครื่องเป่าลมร้อนก็จะแข็งเป็นตะกั่วสีเงาๆครับ
ตะกั่วเหลวในท้องมีทั้งแบบกระปุก
แบบหลอด ลองซื้อมาใช้ทั้ง2แบบ ดูสิอย่างไหนตะกั่วหลอมได้เร็วกว่าก็ดีกว่า
ดูง่ายๆอย่างนี้ก่อน |
วิธีใช้
ป้ายๆละเลงที่ตะแกรงลึกถึงตัวขา IC ให้สม่ำเสมอดีแล้วก็ เป่าซะ
เป่าจนได้ที่ก็เสร็จ อย่าเป่าเพลินนะครับ ดูรูป (สีเงาดำๆ เป็นหัวเป่าร้อน)
จะได้ผลลัพธ์เป็นขาIC ที่เนียนเป็นระเบียบ จัดเรียงเท่ากันทุกเม็ด
พร้อมที่จะนำไปลงในเครื่องโทรศัพท์ต่อไป |
16.พัดลมดูดอากาศ |
|
หน้าที่ ระบายอากาศ
ควันตะกั่วที่เกิดขึ้นออกไปที่อื่น ช่วยให้อากาศสดชื่นขึ้นมา ช่างบางคนเอาผ้าปิดปาก
มันก็ดูไม่สะดวก เอาตัวนี้ไปดีกว่า จะได้ทำงานอย่างมีความสุข |
วิธีใช้
เปิดใช้เมื่อต้องการ ระบายอากาศที่โต๊ะทำงาน |
17.เครื่องกระตุ้นแบต |
|
หน้าที่ จัดการแบตโทรศัพท์ที่หมดไฟ มาให้ใช้ได้ใหม่ โดยไม่ต้องซื้อแบตก้อนใหม่
ใช้บ่อยในร้านขายแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ |
วิธีใช้ ต่อสายเปิดสวิตซ์
ปรับแรงดัน - จี้เข้า-ออก ตรวจสอบกับเครื่องลูกค้า จะว่าเหมือนกับ
DC-Supplyก็ได้แตแนะนำมีแยกตัวกันดีกว่า
|
18.หม้อต้ม
Ultra Sonic |
|
หน้าที่ ทำความสะอาด
ล้างขี้โคลน หรือสิ่งสกปรกที่เข้าตัวเครื่อง แต่ไม่สามารถเอาออกได้ด้วยแปรง
ก็ต้องหาตัวที่สามารถเข้าลึก ยิงตรงเข้าสู่ขาไอซีที่เป็นเม็ดๆ
ให้สะอาดที่สุด
|
วิธีใช้ ใส่น้ำยาใส่บอร์ด
เปิดเครื่อง รอต้มเสร็จพร้อมรับประทาน เฮ้ย...โทษที ผิดครับ
ต้มเสร็จก็สะอาดดีแล้วครับ อาจจะใช้แปรงช่วยในบางจุด ที่ติดแน่น
|
19.Wall
Charge |
|
หน้าที่ นำไฟจากบ้านเข้าเครื่อง
220Volt เป็น5Volt ต้องมีไว้เผื่อลูกค้ามาซ่อมเครื่อง ที่มีอาการไม่ชาร์ต
เพราะหากลูกค้าไม่เอามา ไม่มีก็ตรวจไม่ได้ มีไว้ให้ครบทุกรุ่นเลย
ดีมาก |
วิธีใช้ ชาร์ตและสามารถนำมาประยุกต์ซ่อมเครื่องได้หากเข้าใจ ด้านการทำงานของโทรศัพท์มือถือ
|
20.SIMcard |
|
หน้าที่ บางทีต้องรอดูอาการเครื่องต่อเนื่องตั้งทิ้งไว้วันสองวันก็ต้องมี
Simสำรอง ไว้รอดูอาการ หรือบางทีเครื่องลูกค้าใช้ได้บางเครือข่าย
ซ่อมเฉพาะย่ายที่เสียหายแล้วก็ใช้Simให้ถูกกับที่ซ่อม |
วิธีใช้ พูดไปก็เดี๋ยวจะหาว่าสอนจระเข้ว่ายน้ำ |