หลายๆคนอยากซ่อมโทรศัพท์มือถือ
เครื่องใช้ไฟฟ้าเองเนื่องจากสามารถทำเองได้ อยากทำเป็นมุมส่วนตัวงานอดิเรกในบ้านพัก
แต่งงๆว่าจะจัดโต๊ะซ่อม เครื่องมือช่าง อะไรบ้างที่ต้องมี เพราะเดินๆที่บ้านหม้อ
ร้านอมรเห็นมีเยอะหลายแบบ หลายชนิด กำลังวัตต์เท่าไรดี สารพัดเป็นข้อกังวลใจ
วันนี้เรามาแนะนำอุปกรณ ์เครื่องมือช่าง บนโต๊ะช่างของเรากันดีกว่า
ใครที่เคยเดินดูในร้านแล้วเง๊งงง ว่าไอ้นี้คืออะไรใช้อย่างไร วันนี้มีคำตอบครับ
ไล่ไปตัวๆเลยนะครับ
... เบสิกก่อนในแน่น
ชื่ออุปกรณ์ |
รูปภาพ |
คำอธิบาย
/ วิธีการใช้ |
1.มิเตอร์ |
|
หน้าที่ ใช้สำหรับดูสภาพอุปกรณ์
ในส่วนที่ตาคนธรรมดา ไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้น ดีหรือเสีย
เช่น สายไฟ ลำโพง ไมค์ มอเตอร์สั่น กระดิ่ง ฯลฯ เสาอากาศ หรือวัดไฟในก้อนแบต
ว่ามีไฟขาดหรือไม่ วัดไฟในวงจรมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่สรุปแล้วต้องมีครับ |
วิธีใช้ แบ่งได้เป็นแบบตัวเลขและแบบเข็มดังรูป
แต่ก็ให้ผลแสดงออกมา อ่านค่าได้ตรงกัน (โดยส่วนตัวแล้วผมชอบแบบเข็มนะ)
เวลาจะใช้ก็หมุนลูกบิด ไปที่ส่วนที่ต้องการอ่านค่า หน่วยอะไร แล้วใช้สายสีแดง-ดำ(Probe)
จิ้มแล้วอ่านค่า ไม่ยากในการอ่าน แต่จะยากที่ทำไมต้องจิ้มจุดนั้นจุดนี้
... แล้วค่าที่ถูกต้องกับอุปกรณ์เสียคืออะไรแยกอย่างไร ยากกว่าจิ้มครับ |
2.หัวแร้ง |
|
หน้าที่ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ให้ความร้อนแก่ขาอุปกรณ์
โดยส่วนใหญ่ จะเป็นขาตะกั่ว สายไฟทั้งหลาย เพื่อทำให้ยึดแน่น ไฟฟ้าไหลผ่านได้ไม่มีติดขัด
ไม่ขาดช่วงขาดตอน เรียกว่า บัคกรี มีหลักๆก็หัวแร้งแช่กับหัวแร้งปืน
ต่างกันที่ด้ามจับแล้วแต่บุคคล ส่วนที่ทำไมถึงชื่อหัวแร้งนั้น
ไม่ทราบครับ ดูในรูปก็ไม่เห็นคล้าย กับหัวอีแร้งที่ไหน (อันนี้ไม่ได้พาดพิง
คุณแร้งทึ้งนะครับ เดี๋ยวโดนบิดหู) |
วิธีใช้ เสียบปลั๊กแล้วปลายหัวแร้งจะร้อนขึ้นมาครับ เมื่อร้อนได้ที่แล้ว
เราก็จะนำไปจี้ที่ขาอุกรณ์ สายไฟ จุดเชื่อมต่อต่างๆ ที่เห็นว่าขาด
ไม่ถึงกัน ในงานของพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน สายขาดประจำ ใช้ร่วมกับตะกั่วครับ หัวแร้งปลายปืนจะมีปุ่มเร่งร้อนได้ กรณีที่ความร้อนไม่สะใจ |
2.1หัวแร้งปรับอุณหภูมิ |
|
หน้าที่
เหมือนในส่วนหัวแร้งธรรมดา ใช้สำหรับช่างที่มีงานหลากหลาย ใหญ่บ้างเล็กบ้าง
ผสมๆกัน บางงานจึงต้องการความร้อนสูงในการหลอมตะกั่ว ส่วนบางงานความร้อนสูงไปจะทำให้ไหม้ได้จึงสามาถลด-เพิ่มอุณหภูมิ
ได้ตามต้องการ แต่หากเราไม่มีงานหลายชนิด หัวแร้งแช่ก็พอแล้วครับ |
วิธีใช้ หมุนเร่งความร้อน
ร้อนได้พอดีก็ไปจี้ตะกั่วได้ เสร็จแล้วหมุนกลับ |
2.2
ปลายหัวแร้ง |
|
หน้าที่ หากเราใช้หัวแร้งไปนานเข้า ปลายก็สึกทู่ ไม่แหลมก็ทำงานในส่วนเล็กๆ
ไม่ถึง ไม่ร้อน ใช้ไปนานเข้าปลายหงิกผุ ก็เปลี่ยนปลายใหม่ก็พอ
ไม่ต้องไปซื้อหัวแร้งใหม่ เปลื้องสตางค์ หัวแร้งเราตอนซื้อ ก็เลือกแบบเปลี่ยนปลายได้นะครับ
ประหยัดดี |
วิธีใช้ หมุนน้อตที่หัวแร้งออก แล้วถอดทิ้งเปลี่ยนใหม่ ที่ขนาดเท่าเดิม |
3.ตะกั่วเส้น |
|
หน้าที่ ตะกั่วเป็นโลหะที่นำไฟฟ้าได้
และจุดหลอมเหลวของมัน ก็ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับโหละชนิดอื่นๆ
ตัวอย่างเช่นทองแดงเหลวที่2000องศา แต่ตะกั่ว300-500 ก็หลอมเหลวได้แล้วจึงนำตะกั่ว
มาใช้ในการสร้างจุดเชื่อมต่อ (ไม่ใช่เหลวง่ายๆจะดี เช่น โลหะปรอทหลอมเหลว
ในอุณหภูมิห้อง ไม่แข็งตัวสักทีก็ไม่ไหวครับ ) |
วิธีใช้ ใช้ร่วมกับหัวแร้งจี้ให้ตะกั่วหลอมเหลว
แล้วไปแปะที่ขา หรือชิ้นอุปกรณ์ ทิ้งไว้ซัก2-3วินาที ตะกั่วก็แข็งตัว
ยึดเกาะติดแน่น นำไฟฟ้าได้ด้วย ตะกั่วที่ใช้ในงานซ่อมมือถือเรา
แนะนำเส้นเล็กสุดครับเพราะ มือถือเครื่องมันเล็กๆ ใช้ใหญ่ๆก็เปรอะ
บวมไปหมดสิครับ |
4.น้ำยาประสาน
(ฟลั้ก) |
|
หน้าที่ เป็นตัวเร่งปฏิกริยาการหลอมเหลวของตะกั่วในดีขึ้น ตะกั่วของเราจะร้อนเร็วขึ้น
นั้นหมายถึงเวลาที่เราจี้ เวลาให้ความร้อนน้อยลง ส่งผลดีกับทุกฝ่าย
คืออุปกรณ์ไม่ต้องร้อนนานๆ เพราะบางตัวเป็นพลาสติก อาจจะหลอมยับบิดเบี้ยวได้หากโดนความร้อนนานๆ
อีกอย่างก็ช่างจะซ่อมเร็วขึ้น งานเข้าเยอะแค่ไหน ก็บ่ยั้น |
วิธีใช้
ป้ายฟลั้กลงที่จุดที่ต้องการให้ความร้อนก่อน แล้วลงมือลุย ฟลั้กเดือดล้อมรอบตะกั่วสักพัก
ตะกั่วก็เหลวแล้ว ใช้ในงานที่เข้าไม่ถึง ถึงได้ยาก |
|
|
อันนี้ใส่ขวดใสน้ำยาใส-เหลองมีขายตามท้องตาด |
4.2
ฟลั้กครีม |
|
หน้าที่ คล้ายฟลั้กน้ำบรรจุในหลอด
คล้ายหลอดฉีดยาใช้ในงานบักกรี ในเชิงต้องการคุณภาพมาก ฟลั้กครีมหลอดๆนึง
เท่ากับฟลั้กน้ำขวดเลยทีเดียว กลิ่นของมันจะหอมชวนดม คล้ายๆมะลิ |
วิธีใช้
บีบป้ายใส่ชิ้นงานแล้วจัดการได้ ใช้หมดซื้อใหม่ หรือ ตบจากเพื่อนร้านข้างๆ |
4.3
ฟลั้กตลับ |
|
หน้าที่ นอกจากเป็นตัวประสานแล้ว
แต่ช่างเราก็ใช้บ่อย ในการใช้ล้างหัวแร้ง กรณีสกปรกที่ปลายหัวแร้ง
เมื่อใช้หัวแร้งซักประมาณ5-6นาที จะมีเขม่าเกาะสกปรก เขม่าขุยพวกนี้
หากลงไปผสมกับตะกั่ว ก็จะทำให้ตะกั่วหมอง ไม่สดใส แกาะติดขาอุปกรณ์ไม่แน่น
ไม่อยู่ หากขาอุปกรณ์ชิดกันมาก อาจจะพาลช้อตได้ ต้องทำความสะอาดปลายหัวแร้ง |
วิธีใช้
เร็ว ง่าย สะดวกที่สุด ก็จุ่มหัวแร้งที่ร้อนๆ ลงไปนิดๆพอที่จะสะอาด
แล้วทำงานได้ต่อ |
5.ลวดอาบน้ำยา |
|
หน้าที่ นำไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่เราต้องการ ใช้ในการต่อลายวงจร
ลวดอาบน้ายานี้ใช้มากในงานซ่อมมือถือ ต่อได้เลย ไม่ต้องกลัวช้อต
เพราะน้ำยาที่หุ้มตลอดทั้งเส้นเป็นฉนวนกันไฟให้อยู่แล้ว ลวดอาบน้ำยานี้
ซ่อมทีหนึ่งลงทุน1บาท แต่เรียกเงินออกจากกระเป๋าลูกค้าได้ 400-500
เท่าตัวเลยนะครับ หมดม้วนนึง ได้ไม่ต่ำกว่า5-6หมื่น แน่นอน |
วิธีใช้ บัคกรีแต้มตะกั่วหัวและท้าย
ที่ต้องการเชื่อมต่อให้ถึงกัน ไอ้ตอนบัคกรีมันง่ายๆนะ แต่ตอนหาว่าตรงไหน
ที่ต้องบัคกรีถึงกันนี่ซิ มันน่าดู!! |
6.อุปกรณ์
เพิ่มกำลังการ มองเห็น |
|
หน้าที่ ชื่อซะหรูจริงๆ
ก็แว่นขยายนี่แหละ เพิ่มขนาดภาพ ให้ชัดเจนขึ้น เขามีทั้งแบบ โคมไฟแว่นจุ๊บทีตา
ก็แล้วแต่คนถนัดนะครับ มองไม่เห็นก็อย่าฝืน เดี๋ยวสายตาเสียเพ่งนาน
หาตัวช่วยเถอะครับ หนุ่มๆใช่ได้ มีอายุหน่อยใช้ดี (แก่เป็นคำไม่สุภาพ
เดี๋ยวโดนลุงบ่น) |
วิธีใช้ หาจุดโฟกัสดีๆและก็แจ๋มครับ
บางตัวมีที่จับพร้อม วางหัวแร้งได้อีก สารพัด |
7.ยางลบ |
|
หน้าที่ ทำความสะอาดจุดหน้าสัมผัส
ที่มีคราบต่างสกปรก ไฟฟ้าเดินผ่านไม่ได้ ให้เงางามแวววับ ไฟฟ้าเดินผ่านได้สะดวก
อย่าดูถูกนะครับ ใช้หมดด้ามเก็บเงินซื้อรถได้เลย แตถ้าวิเคราะห์จุดเสียผิด
ลบขัดๆถูก20แท่งก็ยังเหมือนเดิมนะ เพราะฉะนั้น ต้องถูกที่ถูกเวลาด้วย |
วิธีใช้ ขัดๆถูๆ ที่ต้องการ |
8.ตัวป้องกันไฟลงเครื่อง |
|
หน้าที่ ป้องกันไฟฟ้ารั่วลงตัวโทรศัพท์
จากตัวมนุษย์ หากใครเคยแกล้ง เล่นไฟดูดเพื่อนหรือเคยโดนแกล้งจะรู้ทันที
คนเรามีปะจุสะสมอยู่ได ้ หากมนุษย์ใส่รองเท้ายาง ไม่มีสายดิน ก็จะมีไฟสะสมอยู่
แล้วหากไปแตะสิ่งที่ลงดินได้ล่ะก็ ไฟจะไหลไปลงดินนั้นเอง ตัวนี้เป็นตัวที่ทำให้หมุษย์ไม่มีไฟในตัว
สรุป งงไหม บางทีเราใส่รองเท้าแล้ว เสียบปลั้กหัวแร้งแต่ะๆ
ทดสอบหัวแร้งร้อนหรือเปล่า ก็มีไฟในตัวเรียบร้อยครับ |
วิธีใช้ พันข้อมือแล้วหนีบลงสายดินซะ แล้วเราก็จะกลายเป็นคนหมดไฟ ไม่มีไฟไปช้อตใครให้สะดุงอีกแล้วครับผม |
พอทราบๆกันบ้างแล้วนะครับ
แต่อุปกรณ์ เครื่องมือช่าง ที่ใช้กันยังมีอีกนะครับ ไว้ต่อคราวหน้าดีกว่านะครับ
เขียนยาวไปเดี๋ยวเอียนแย่